ReadyPlanet.com
dot dot
dot
รายการสินค้ายี่ห้อ CEO
dot
bulletเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ CEO CSL- RCBO
bulletเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ Safety Box CEO
bulletเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ รุ่นป้องกันฟ้าผ่า (RCCB) CEO
bulletเครื่องตัดกระแสไฟฟ้า รุ่นป้องกันฟ้าผ่า (RCBO) CEO
bulletคอนซูเมอร์ยูนิต CSU รุ่นสำเร็จรูป CEO
bulletตู้สำเร็จรูปรุ่นอาเซียน (อเมริกา) CEO
bulletคอนซูเมอร์ยูนิต CSU รุ่นพร้อมเมน CEO
bulletมิเตอร์ไฟฟ้า CEO
bulletอุปกรณ์ไฟฟ้า อื่นๆ
dot
dot
bulletเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ รุ่น CSL Bi-Tek
bulletคอนซูเมอร์ยูนิต CSU รุ่น สำเร็จรูป Bi-Tek
bulletคอนซูเมอร์ยูนิต CSU รุ่น พร้อมเมน Bi-Tek
bulletอุปกรณ์ไฟฟ้า อื่นๆ
dot
dot
bulletติดต่อสอบถาม
dot
dot
bulletความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า
dot
dot
bulletการไฟฟ้านครหลวง
bulletการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
bulletการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
dot

dot




ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไฟฟ้า article

ประโยชน์ของสายดิน
  • ป้องกันไม่ให้มีผู้ถูกไฟฟ้าดูดกรณีมีกระแสไฟฟ้ารั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากกระแสไฟฟ้ารั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้าจะไหลลงดินทางสายดิน โดยไม่ผ่านร่างกายผู้สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น เป็นผลทำให้อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร และ/หรือไฟฟ้ารั่วจะตัดกระแสไฟฟ้าออกทันที
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สื่อสารอาจทำงานได้ไม่สมบูรณ์หรือชำรุดได้ง่ายหากไม่มีสายดิน

 

 
 
 

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องมี/ไม่มีสายดิน
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ต้องมีสายดิน
           เครื่องใช้ไฟฟ้ารวมทั้งอุปกรณ์ติดตั้งทางไฟฟ้าที่มีโครงหรือเปลือกหุ้มเป็นโลหะ ซึ่งบุคคลมีโอกาสสัมผัสได้ ต้องมีสายดิน เช่น ตู้เย็น, เตารีด, เครื่องซักผ้า, หม้อหุงข้าว, เครื่องปรับอากาศ, เตาไมโครเวฟ, กระทะไฟฟ้า, กระติกน้ำร้อน, เครื่องทำน้ำร้อนหรือน้ำอุ่น, เครื่องปิ้งขนมปัง เป็นต้น เราเรียกครื่องใช้ฯ เหล่านี้ว่าเป็น  เครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภท 1
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ไม่ต้องมีสายดิน
           เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 2 ซึ่งมีสัญลักษณ์ หรือมีเครื่องหมาย (ควรใช้ไขควงลองไฟทดสอบ ถ้ามีสัญลักษณ์ประเภท 2 แต่ยังมีไฟรั่วก็แสดงว่าผู้ผลิตนั้นผลิตไม่ได้มาตรฐาน และจำเป็นต้องมีสายดิน) ตัวอย่างของเครื่องใช้ฯ ประเภท 2 เช่น วิทยุ, โทรทัศน์, พัดลม เป็นต้น
 
 
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 50 โวลต์ โดยต่อจากหม้อแปลงชนิดพิเศษที่ได้ออกแบบไว้เพื่อความปลอดภัย เช่น เครื่องโกนหนวด, โทรศัพท์ เป็นต้น
 

  • เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเครื่องหมาย  แสดงว่าต้องมีสายดิน โดยมักจะแสดงไว้ในตำแหน่งหรือจุดที่จะต้องต่อสายดิน
  • สีของสายไฟฟ้าเส้นที่แสดงว่าเป็นสายดิน คือ สีเขียว หรือ สีเขียวสลับเหลือง


 

 
 

วิธีติดตั้งระบบสายดินที่ถูกต้อง
  1. จุดต่อลงดินของระบบไฟฟ้า (จุดต่อลงดินของเส้นศูนย์หรือนิวทรัล) ต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดวงจรตัวแรกของตู้เมนสวิตช์
  2. ภายในอาคารหลังเดียวกันไม่ควรมีจุดต่อลงดินมากกว่า 1 จุด
  3. สายดินและสายเส้นศูนย์สามารถต่อร่วมกันได้เพียงแห่งเดียวที่จุดต่อลงดินภายในตู้เมนสวิตช์ ห้ามต่อร่วมกันในที่อื่น ๆ อีก เช่น ในแผงสวิตช์ย่อยจะต้องมีขั้วสายดินแยกจากขั้วต่อสายศูนย์ และห้ามต่อถึงกันโดยมีฉนวนคั่นระหว่างขั้วต่อสายเส้นศูนย์กับตัวตู้ซึ่งต่อกับขั้วต่อสายดิน
  4. ตู้เมนสวิตช์สำหรับห้องชุดของอาคารชุดและตู้แผงสวิตช์ประจำชั้นของอาคารชุดให้ถือว่าเป็นแผงสวิตช์ย่อย ห้ามต่อสายเส้นศูนย์ และสายดินร่วมกัน
  5. ไม่ควรต่อโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินโดยตรง แต่ถ้าได้ดำเนินการไปแล้วให้แก้ไขโดยมีการต่อลงดินที่
  6. เมนสวิตย์อย่างถูกต้องแล้วเดินสายดินจากเมนสวิตช์มาต่อร่วมกับสายดินที่ใช้อยู่เดิม
  7. ไม่ควรใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิด 120/240 V กับระบบไฟ 220 V เพราะพิกัด IC จะลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง
  8. การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว จะเสริมการป้องกันให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น เช่น กรณีที่มักจะมีน้ำท่วมขัง หรือกรณีสายดินขาด เป็นต้น และจุดต่อลงดินต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดไฟรั่วเสมอ
  9. ถ้าตู้เมนสวิตช์ไม่มีขั้วต่อสายดินและขั้วต่อสายเส้นศูนย์แยกออกจากกัน เครื่องตัดไฟรั่วจะต่อใช้ได้เฉพาะวงจรย่อยเท่านั้น จะใช้ตัวเดียวป้องกันทั้งระบบไม่ได้
  10. วงจรสายดินที่ถูกต้องในสภาวะปกติจะต้องไม่มีกระแสไฟฟ้าไหล
  11. ถ้าเดินสายไฟในท่อโลหะ จะต้องเดินสายดินในท่อโลหะนั้นด้วย
  12. ดวงโคมไฟฟ้าและอุปกรณ์ติดตั้งที่เป็นโลหะควรต่อลงดิน มิฉะนั้นต้องอยู่เกินระยะที่บุคคลทั่วไปสัมผัสไม่ถึง (สูง 2.40 เมตร หรือห่าง 1.50 เมตร ในแนวราบ)
  13. ขนาดและชนิดของอุปกรณ์ระบบสายดิน ต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง
 
 


ผังแสดงการต่อลงดินและการต่อสายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า
 

1 = Protective conductor (P.E.) หรือ equipment grounding conductor (EGC) สายดินอุปกรณ์ ไฟฟ้า
2 = main equipotential bonding conductor (สายต่อฝากหลักหรือสายต่อประสานหลัก)
3 = earthing conductor, grounding electrode conductor (สายต่อหลักดิน)
4 = supplementary equipotential bonding conductors, bonding jumper (สายต่อฝาก  หรือสายต่อประสาน)
B = main earthing terminal, main earthing bar, ground bus (ขั้วต่อลงดินหลัก)
M = exposed-conductive-part (โลหะเปลือกนอกของเครื่องใช้ไฟฟ้า)
C = extraneous-conductive-part (ตัวนำหรือโลหะส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้า)
P = main metallic water pipe (ท่อน้ำโลหะ)
T = earth electrode (หลักดิน)

 

เครื่องตัดไฟรั่ว คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
 
       เครื่องตัดไฟรั่วหรือที่รู้จักกันว่า “เครื่องกันไฟดูด” นั้น คือ เครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่ทำหน้าที่ตัดไฟเมื่อมีกระแสไฟฟ้าบางส่วนรั่วหายไป คือ ไม่ไหลกลับไปตามสายไฟฟ้า แต่มีไฟรั่วลงไปในดิน โดยผ่านร่างกายมนุษย์หรือผ่านฉนวนของอุปกรณ์ไฟฟ้า





 
ประโยชน์ของเครื่องตัดไฟรั่ว
  • ป้องกันอันตรายจากไฟดูด (ตัดไฟรั่วที่ไหลผ่านร่างกาย)
  • ป้องกันอัคคีภัย (ตัดไฟรั่วที่ไหลลงดินที่อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือสายไฟฟ้าในกรณีที่เครื่องป้องกันกระแสเกิน เช่น ฟิวส์หรือเบรกเกอร์ไม่ทำงานหรือทำงานช้า เนื่องจากปริมาณกระแสไฟรั่วมีค่าต่ำ แต่อาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้)

 

 
 

ประเภทเครื่องตัดไฟรั่ว

เครื่องตัดไฟรั่วจะมีอยู่หลายประเภท ในที่นี้ขอแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. เครื่องตัดไฟรั่วที่ตัดกระแสลัดวงจรได้ (RCBO) สามารถใช้ตัดได้ทั้งไฟรั่วและกระแสลัดวงจร
  2. เครื่องตัดไฟรั่วที่ไม่สามารถตัดกระแสลัดวงจร (RCCB) จึงต้องใช้ร่วมกับฟิวส์หรือเบรกเกอร์ด้วยทุกครั้ง
 

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสายดินต้องใช้ปลั๊กไฟที่มีเฉพาะ 3 ขา เท่านั้นหรือ?

       ไม่จำเป็นต้องใช้ปลั๊กไฟ 3 ขา ปลั๊กไฟที่มีสายดินของเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะมีเพียง 2 ขา โดยมีขั้วสายดิน 2 แถบ อยู่ด้านข้างของตัวปลั๊ก

       ดังนั้น การติดตั้งเต้ารับที่มี 3 รู จึงไม่เกิดประโยชน์ต่อการต่อ ลงดิน และยังเป็นการส่งเสริมให้มีการผลิต และใช้อุปกรณ์ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลอีกด้วย

 
 

เครื่องตัดไฟรั่วกับสายดินอย่างไหนจะดีกว่ากัน
สายดิน
       เป็นความจำเป็นอันดับแรกที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องมีสำหรับ ป้องกันไฟฟ้าดูด เพื่อให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงสายดินได้โดยสะดวก โดยไม่ผ่านร่างกาย (ไฟไม่ดูด) และทำให้เครื่องตัดไฟ อัตโนมัติตัดไฟออกได้ทันที

เครื่องตัดไฟรั่ว

       เมื่อใช้กับระบบไฟที่มีสายดินจะเป็นมาตรการ เสริมความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้มีการตัดไฟรั่วก่อนที่จะเป็น อันตรายกับระบบไฟฟ้า (ไฟไหม้) หรือกับมนุษย์ (ไฟดูด)

เครื่องตัดไฟรั่วในระบบไฟทีไม่มีสายดิน

       เครื่องตัดไฟรั่วจะทำงานก็ต่อเมื่อมีไฟรั่วไหลผ่านร่างกายแล้ว (ต้องถูกไฟดูดก่อน) ดังนั้นความปลอดภัยจึงขึ้นอยู่กับความไวในการตัดกระแสไฟฟ้า

ระบบไฟฟ้าที่ดีจึงควรมีทั้งระบบสายดินและเครื่องตัดไฟรั่ว
       เพื่อเสริมการทำงานซึ่งกันและกันให้เกิดความปลอดภัยทั้งจากอัคคีภัยและการถูกไฟฟ้าดูด
 

 

 

เครื่องตัดไฟรั่วที่ใช้ป้องกันไฟดูดต้องมีคุณสมบัติและการใช้งานอย่างไร
  1. พิกัดขนาดกระแสไฟฟ้ารั่วต้องไม่เกิน 30 mA และตัดไฟได้ภายในระยะเวลา 0.04 วินาที เมื่อมีไฟรั่วขนาด 5 เท่าของพิกัด (=150 mA)
  2. ควรติดตั้งใช้งานเฉพาะจุด เช่น วงจรเต้ารับในห้องครัว, ห้องน้ำ, ห้องเด็ก ๆ หรือวงจรเต้ารับ/สายไฟที่ต่อไปใช้งานนอกอาคารทั้งชั่วคราว และถาวร
  3. ถ้าจะติดตั้งรวมที่เมนสวิตช์จะต้องแยกวงจรที่มีค่าไฟรั่วตามธรรมชาติมากออกไป เช่น อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า, เครื่องปรับอากาศ, อุปกรณ์ที่มีโอกาสเปียกชื้น
  4. เมื่อต้องการให้เครื่องตัดไฟรั่วสามารถป้องกันทุกวงจรที่เมนสวิตช์ (ใช้ได้เฉพาะระบบที่มีสายดิน เป็นมาตรการเสริมป้องกันอัคคีภัย และไฟฟ้าดูด) ให้ใช้ขนาดตั้งแต่ 100 mA เป็นต้นไป โดยอาจเป็น 300 mA หรือ 500 mA ก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแสไฟรั่วตามธรรมชาติ สำหรับขนาด 30 mA นั้นก็ยังคงใช้ร่วมกันในวงจรย่อยซึ่งอาจใช้หลายตัวก็ได้ และหากมีปัญหาการทำงานพร้อมกันให้เลือกชนิดที่มีการหน่วงเวลา (Type S) สำหรับเครื่องตัดไฟรั่วที่เมนสวิตช์

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องตัดไฟรั่วที่มีอยู่ปลอดภัย
       เราสามารถตรวจสอบการทำงานของเครื่องตัดไฟรั่วได้ด้วยเครื่องตรวจสอบการทำงานของเครื่องตัดไฟรั่ว การกดปุ่มทดสอบเป็นประจำเป็นเพียงการบอกว่าการรับสัญญาณ และกลไกสามารถทำงานได้เท่านั้นอย่างไรก็ตามความปลอดภัยยังขึ้นอยู่กับการติดตั้งว่าถูกต้องหรือไม่ด้วย

ระบบปัจจุบัน ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัย
ถ้าไม่มีระบบสายดินหรือเครื่องตัดไฟรั่ว
ต้องมีระบบสายดิน
ถ้ามีเครื่องตัดไฟรั่วอยู่แล้ว
ต้องมีระบบสายดิน
ถ้ามีระบบสายดินอยู่แล้ว
ควรมีเครื่องตัดไฟรั่ว
 

การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางไฟฟ้า

ผู้ที่จะช่วยเหลือผู้ที่ประสบอันตรายจากไฟฟ้าต้องรู้จักวิธีที่ถูกต้องในการช่วยเหลือ ดังนี้

  1. อย่าใช้มือเปล่าแตะต้องตัวผู้ที่ติดอยู่กับกระแสไฟฟ้า หรือตัวนำที่เป็นต้นเหตุให้เกิดอันตรายเป็นอันขาด เพื่อป้องกันมิให้ถูกกระแสไฟฟ้าจนได้รับอันตรายไปด้วยอีกผู้หนึ่ง
  2. รีบหาทางตัดกระแสไฟฟ้าโดยฉับไว จะด้วยการถอดปลั๊กหรืออ้าสวิตซ์ออกก็ได้
  3. ใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผ้า ไม้แห้ง เชือกที่แห้ง สายยาง หรือพลาสติกที่แห้งสนิท ถุงมือยางหรือผ้าแห้งพันมือให้หนา แล้วถึงผลักหรือฉุดตัวผู้ประสบอันตรายให้หลุดออกมาโดยเร็ว เขี่ยสายไฟให้หลุดออกจากตัวผู้ประสบอันตราย
  4. หากเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงให้พยายามหลีกเหลี่ยง แล้วรีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวงให้เร็วที่สุด (ดูข้อควรระวังจากสายไฟฟ้าแรงสูงขาด)
  5. อย่าลงไปในน้ำกรณีที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ในบริเวณที่มีน้ำขัง ต้องหาทางเขี่ยสายไฟฟ้าออกให้พ้นหรือตัดกระแสไฟฟ้าก่อน จึงค่อยไปช่วยผู้ประสบอันตราย

       ***
การช่วยผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้าดังที่กล่าวมาแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำด้วยความรวดเร็ว รอบคอบ และระมัดระวังเป็นพิเศษด้วย
 


ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




ความรู้ทั่วไป




เลือกความปลอดภัยเลือกใช้ "ซีอีโอ"